เมนู

เช่นงิ้ว ทองหลาง เป็นต้น. บทว่า กฏฺฐงฺครุกฺเขสุ ได้แก่ ไม้แห้ง.
บทว่า อสารเกสุ ได้แก่ ไม้ไม่มีแก่น มีทองหลางและงิ้วเป็นต้น.
บทว่า อถาสทา ขทิรํ ชาตสารํ ความว่า ภายหลังมาพบต้นตะเคียน
มีแก่นออกมาตั้งแต่ยังเล็ก. บทว่า ยตฺถพฺภิทา ในบทว่า ยตฺถพฺ-
ภิทา คุรุโฬ อุตฺตมงฺคํ
ได้แก่ เจาะคือจิกที่ต้นไม้ใด.
นกขทิรวนิยะ พูดกะนกกันทคลกะนั้นว่า ดูก่อนกันทคลกะ
ผู้เจริญ ต้นตะเคียนนี้เป็นไม้แก่นที่ทำลายสมองศีรษะ. นก-
กันทคลกะได้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. กันทคลกะในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วนนก
ขทิรวนิยะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากันทคลกชาดกที่ 10

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ


1. พันธนาคารชาดก 2. เกฬิสิลชาดก 3. ขันธปริตต-
ชาดก 4. วีรกชาดก 5. คังเคยยชาดก 6. กุรุงคมิคชาดก
7. อัสสกชาดก 8. สุงสุมารชาดก 9. กักกรชาดก 10. กัน-
ทคลกชาดก.
จบ นตังทัฬหวรรคที่ 6